**วนอุทยานแพะเมืองผี**
แพะเมืองผี ตั้งอยู่ระหว่างตำบลทุ่งโฮ้ง และตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร บนเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง แยกตรงกิโลเมตรที่ 9 เข้าไปอีก 6 กิโลเมตร โดยสถานที่ตั้งของแพเมืองผีมีลำธารสายเล็กๆ ไหลผ่าน ในสมัยโบราณเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง และใกล้เคียงให้ความนับถือมาก เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับโดยคนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า มียายแก่เข้าไปเที่ยวในป่าหาผักหน่อไม้มาเป็นอาหาร ได้หลงไปในที่แห่งนี้แล้วพบหลุมเงินหลุมทองจึงเอาเงินเอาทองใส่หาบจนเต็มแล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้านแต่ก็หลงไปหลงมาในป่าแห่งนั้น เพราะเทวดาเจ้าถิ่นนั้นไม่ให้เอาไป เพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายผู้นั้นจึงหาหนทางเอาหาบนั้นกลับบ้านไม่ได้ จึงได้วางหาบนั้นไว้แล้วจัดแจงตัดไม้มาคาดทำเป็นราว แต่ก็ยังไม่สามารถนำหาบเงินหาบทองนั้นออกมาได้สักที ยิ่งยกเท้าไปข้างหน้าก็ยิ่งเหมือนยกถอยหลังไปอีกเหมือนหนึ่งว่ามีคนดึงหาบนั้นไว้ ยายแก่จึงวางหาบไว้ที่นั่นแล้วรีบไปบอกชาวบ้านให้มาดูหาบเงินหาบทองนั้น พอชาวบ้านหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมาก ครั้นเมื่อไปถึงเงินทองนั้นกลับหายไปตามป่านั้น เมื่อพบรอยเท้าจึงสะกดจามรอยเท้าไปจนถึงเสาเมโร และไม่มีรอยปรากฏไปทางอื่นเลย ยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “แพะเมืองผี”
***แพะ หมายถึง ป่าละเมาะ
เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาเหมือนเมืองผีเสาเมโร หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาทศพผู้ตายทางภาคเหนือ
เสาดินที่ปรากฏเป็นรูปทรงต่างๆ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติใต้ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่อย่างไม่เกรงกลัวต่อดินฟ้าอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งมีความพิเศษที่น่าอัศจรรย์ ต้องมีองค์ประกอบของเนื้อดินที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน จากนั้นต้องอาศัยธรรมชาติในการขัดแต่งนานนับล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามจินตนาการที่
***แพะ หมายถึง ป่าละเมาะ
เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาเหมือนเมืองผีเสาเมโร หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาทศพผู้ตายทางภาคเหนือ
เสาดินที่ปรากฏเป็นรูปทรงต่างๆ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติใต้ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่อย่างไม่เกรงกลัวต่อดินฟ้าอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งมีความพิเศษที่น่าอัศจรรย์ ต้องมีองค์ประกอบของเนื้อดินที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน จากนั้นต้องอาศัยธรรมชาติในการขัดแต่งนานนับล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามจินตนาการที่
แตกต่างกันออกไป โดยต้องอาศัยทั้งน้ำฝนช่วยกัดเซาะและลมช่วยขัดสี จึงเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ธรรมชาติสร้างเมือง เร้นลับ อย่าง แพะเมืองผี แห่งจังหวัดแพร่
วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นอุทยานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ อยู่บนเนื้อที่ประมาณ 167 ไร่ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากความมหัศจรรย์จากธรรมชาติของดินและสิ่งแวดล้อม คือแพะเมืองผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินพร้อมกับการตกแต่งโดยธรรมชาติเกิดเป็น
เมืองเร้นลับของชาวบ้านในสมัยโบราณ ซึ่งมีขนาดใหญ่และความสวยงามได้เองตามธรรมชาติ เป็นที่อัศจรรย์ใจสำหรับผู้ที่ได้พบเห็น ส่วนที่ตั้งชื่อว่าแพะเมืองผี ก็ด้วยที่เป็นเมืองลึกลับ นั่นเอง คือคำว่าแพะ ในภาษาสำเนียงชาวแพร่ ออกเสียงเป็น แป๊ะ หมายถึงป่าละเมาะ ส่วนเมืองผี หมายถึงดินแดนที่เร้นลับ เพราะไม่มีผู้คนกล้าผ่านไปมา ดังนั้นแพะเมืองผีจึงเปรียบเสมือนเมืองที่มีความเร้นลับศักดิ์สิทธิ์น่ากลัว ตามภาษาชาวแพร่
แพะเมืองผี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะ ตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เป็นพื้นที่เนินเขาซึ่งสูงกว่าส่วนอื่น เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติ โดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไป หน้าผา
แพะเมืองผี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะ ตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เป็นพื้นที่เนินเขาซึ่งสูงกว่าส่วนอื่น เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติ โดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไป หน้าผา
และเสาดินที่ตั้งสูงเด่น มีรูปทรงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความสวย ทำให้เวลามองมีความสลับซับซ้อนมากลักษณะเป็นเมืองเร้นลับ ลักษณะเสาหินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากการถล่มยุบตัวลงไปจากระดับพื้นดินปกติ ปรากฏเป็นกองดินและแท่งเสาดิน ตามผิวของเสาดินมีริ้วลายเป็นร่องยาวจากบนลงล่างเป็นหลัก เสาดินมีขนาดสูงบ้าง ต่ำบ้าง
บางแห่งสูงเกือบ 30 เมตรเลยทีเดียว อาณาเขตของแพะเมืองผีมีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
นักธรณีวิทยาประมาณค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค ชั้นดินของเสาดินแบบแรกนั้น นักธรณีวิทยาประมาณค่าอายุของดินว่าอยู่ในยุค Quaternary ประมาณไม่เกิน ๒ ล้านปี ซึ่งถือว่าเป็นยุคค่อนข้างใหม่ ลักษณะการเกิดของเสาหินเกิดจาก กรวด หิน ดิน ทราย จับตัวกัน ยังไม่แน่นแข็งเต็มที่ ประกอบด้วยชั้นหินทรายละเอียดและชั้นหินทรายสลับกันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีความต้านทานต่อการผุพังไม่เท่ากัน เมื่อถูกน้ำฝนชะซึม ชั้นหินที่มีความต้านทานต่อการผุพังน้อยกว่า ก็จะถูกชะล้างกัดกร่อนไปโดยง่าย เหลือเพียงชั้นที่มีความต้านทานต่อการผุพังมากกว่า ทำหน้าที่เสมือนแผ่นเกราะวางอยู่ข้างบน ที่น้ำไม่สามารถชะกร่อนต่อไปได้ง่าย ส่วนที่เหลือจึงเกิดเป็นแท่ง เป็นหย่อม และมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป เสาดินแบบดอกเห็ดจะมีแผ่นหินแข็งเหมือนหมวกอยู่บนหัวเสา และเสาดินแบบที่ไม่มีหมวกแข็ง จะมีปลายแหลมมน
ยอดเสาจะเป็นทรงเรียวเล็กกว่าโคนและเสา จะไม่สูงมากนัก ส่วนที่ว่า
จะเป็นเสาดินแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของแต่ละบุคคลว่ามันมีรูปร่างอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น