วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

The Cicada Market


The Cicada Market แหล่งฮิปแห่งใหม่ของคหัวหิ
วันนี้ใครที่มาเที่ยวหัวหิน นอกจากจะได้เที่ยวทะเล แล้วยังมีตลาดเพลินวาน สถานที่เที่ยวที่กำลังฮิตอยู่ตอนนี้ แต่ในขณะเดียวกันที่นี่ก็ยังมีอีกหนึ่งสถานที่เที่ยวที่เพิ่งเปิดใหม่ล่าสุด ซึ่งเราจะมาแนะนำกันในวันนี้คือ The Cicada Market หรือ ตลาดนั
ดจั๊กจั่น Cicada Market ตลาดนัดเปิดเสื่อ-เปิดใจ-เปิดไอเดีย

ความเป็นมา

หัวหินเป็นเมืองตาก อากาศที่มีการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยสังเกตได้จากอัตราของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย ทั้งนี้หัวหินนอกจากจะมีทรัพยากรทางธรรมชาติและบรรยากาศที่น่าพักผ่อนแล้ว ยังมีปัจจัยเรื่องการคมนาคมที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก พร้อมทั้งมี

แหล่งพักอาศัยรองรับให้เลือกหลายระดับอย่างเพียงพอ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นต้นทุนทางการท่องเที่ยวที่ดีของเมืองหัวหิน อันมีผลทำให้ความต้องการทางการท่องเที่ยวในหัวหินมีอัตราขยายเพิ่มมากขึ้น

ดังที่กล่าวไว้ แต่ในขณะเดียวกันกิจกรรมหรือสันทนาการระหว่างการพักตากอากาศ กลับมีรองรับไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้วงจรการท่องเที่ยวของหัวหินในแต่ละครั้งเกิดความซ้ำ มีรูปแบบที่จำกัด อันจะนำไปสู่ความเบื่อหน่ายที่สามารถเกิดขึ้นต่อนักท่องเที่ยวได้ บริษัท ศศิอำไพ ลีเชอร์ บิซิเนส จำกัด จึงได้จัดทำโครงการ The Cicada Market ในธีม “Open Mind & Open Mat: เปิดเสื่อ-เปิดใจ-เปิดไอเดีย” ณ สวนศรี เขาตะเกียบ หัวหิน โดยได้รับความสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งโครงการฯ จะถูกสร้

างสรรค์ขึ้น โดยอาศัยการบูรณาการระหว่างศิลปะร่วมกับไลฟ์สไตล์เป็นสื่อกลางในการเชื่อม ต่อระหว่างผู้สร้างสรรค์ นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ชุมชน ให้ตอบสนองและเข้าถึงกันได้อย่างมีเสรีภาพ อีกทั้งเป็นแหล่งรวมชิ้นงานศิลปะร่วมสมัยแขนงต่างๆ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด ของตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้มือสอง สินค้าเอสเอ็มอีที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำมาแสดงและจำหน่ายในสไตล์เปิดเสื่อ อีกทั้งเปิดตาและเปิดใจร่วมทำกิจกรรม workshops จากชมรมต่างๆ เช่น กลุ่มเล่านิทาน

กลุ่มละคร กลุ่มเต้นรำ กลุ่มถ่ายภาพ กลุ่มนักแสดงเปิดหมวก ฯลฯ ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาสร้างสีสันและเสริมสร้างสุนทรียภาพ ท่ามกลางบรรยากาศ Tropical Garden อันร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้งามอายุร่วมร้อยปีบนพื้นที่เกือบ 10 ไร่ของหัวหิน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างพื้นที่ถาวรสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

2. เพื่อสร้างพื้นที่นัดพบระหว่างผู้ซื้อและผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ ประเภทต่างๆ

3. เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษ

าที่ศึกษาทางด้านศิลปะมีพื้นที่ในการแสดงผลงานแก่สาธารณชนมากขึ้น รวมถึงการสร้างรายได้ให้กับประชาคมท้องถิ่น

ทำไมต้องชื่อ The Cicada Market?

จักจั่น: ผู้ขับลำนำแห่งแสงจันทร์ (Cicada: The Choir of Moonshine) ทุกครั้งเมื่อแสงตะวันพลบค่ำต่ำลงในช่วงฤดูร้อน บรรยากาศของสวนที่รายล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ ที่ขนานนามเรียกตัวเองว่า “สวนศรี” ก็สว่างไสวจากดวงไฟที่ตกแต่งประดับประดา ล้อรับกับกระแสเสียงแห่งลำนำที่ดังก้องอยู่ทั่วจากศิลปินตัวน้อยอย่าง จักจั่นที่ดุจคล้ายจะนัดหมายกันมาประโคมเพื่อประโลมแก่กันและกัน จนยากนักที่จะหาเสียงใดมากลบลบความกึกก้องนั้นลงได้ พลกำลังเสียงที่ดังก้องกังวานนั้นต่างตรงข้ามกับรูปลักษณ์ขนาดที่น้อยนิดของ ตัวมันอย่างสิ้นเชิง การส่งเสียงร้องของจักจั่นไม่จำเพาะแค่นัยแห่งการหาคู่เท่านั้น หากแต่ท่วงทำนองของเสียงร้องยังสื่อไปในความหมายอื่นอีก เช่น ส่งเสียงเพื่อการคัดค้าน ส่งเสียงเพื่อความพึงพอใจ ส่งเสียงเพื่อการข่มขู่หรือป้องกันตัว เป็นต้น ถึงแม้เสียงจักจั่นที่ดังแข่งขานกันนั้นจะมีสำเนียงเสียงฟังดูไม่แตกต่าง แต่สำหรับตัวพวกมันเองแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะแยกแยะว่าเสียงที่ได้ยิน นั้นมาจากตัวใดและเพื่อเจตนาใด ซึ่งแต่ละตัวจะมีความจำเพาะของเสียงที่แตกต่างกัน จักจั่นจึงเป็นสัญลักษณ์นิยมที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของปัจเจกชนผู้มี อุดมคติในทางเดียวกัน ทุกเส้นเสียงของจักจั่นที่ดังก้องอยู่ทั่วนั้น ก็เสมือนความคิด ความสามารถของปัจเจกชนที่มีอัตลักษณ์ และอัตลักษณ์ในแต่ละปัจเจกชนก็สามารถสร้างพลังในทางสร้างสรรค์ร่วมกันได้ โดยยึดบริบททางศิลปะและวัฒนธรรมเป็นเครื่องช่วยยกระดับจิตใจของผู้คน เพื่อสร้างความเสถียรภาพกลับคืนสู่สังคมนอก จากนี้สัญลักษณ์นิยมของจักจั่นได้ถูกนำมาตีความและใช้เป็นอุดมคติในแนวทาง การดูแลและเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะเนื่องจากวงจรชีวิตของจักจั่นตั้งแต่วางไข่ กลายเป็นตัวอ่อน และเจริญเป็นตัวเต็มวัยนั้น มีความสัมพันธ์กับต้นไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่ช่วยสร้างความ สมดุลให้กับโลก ฉะนั้นความก้องกังวานแห่งลำนำกระแสเสียงจากหมู่มวลจักจั่นยังคงดังอยู่และ ทวีขึ้นมากเท่าไร นั่นก็หมายถึงสัญญาณแห่งการอยู่รอดของโลกใบนี้ย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ The Cicada Market อันนำไปสู่กระบวนทัศน์ที่จะทำให้เกิดการบูรณาการทางความคิด ความสร้างสรรค์ให้ปรากฎสังคมใหม่ที่อุดมด้วยสุขภาวะขึ้น โดยอาศัยการรวมตัวของปัจเจกชนผู้มีอุดมคติ ในแนวทางศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีมุมมองทางสังคมเชิงบวก พร้อมแบ่งปันสิ่งต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของสังคม


Red Bee Shrimp



Red Bee Shrimp


เมื่อพูดถึง กุ้งแคระ สวยงามแล้ว พวกมันเพิ่งได้รับความนิยมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงนึกถึงกุ้งเชอรี่เป็นอันดับแรก เพราะเป็นกุ้งแคระชนิดแรกๆ ที่ได้นำเข้ามาในบ้านเรา กุ้งเชอรี่นอกจากจะมีสีแดงสวยงามดังชื่อแล้ว ยังสามารถเพาะพันธุ์ได้ง่ายอีกด้วย กุ้งแคระที่ได้รับความนิยมมีอีกหลายสายพันธุ์ อาทิเช่น Tiger Shrimp, Bee Shrimp, Blue Shrimp, Green Shrimp, และ Blackberry Shrimp, ซึ่งแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์ที่สวยงามไม่แพ้กันเลย และมีกุ้งแคระอีกชนิดหนึ่งที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งเจ้ากุ้งแคระตัวนี้ เรียกได้ว่าเป็นราชาของกุ้งแคระเลยทีเดียว นอกจากจะสวยที่สุดในบรรดากุ้งแคระด้วยกันแล้ว ยังเรื่องมากที่สุดและราคาแพงที่สุดด้วยครับ ราชาที่ว่านี้คือ เจ้า เรดบี นั่นเอง


ประวัติความเป็นมาของRed Bee Shrimp

กุ้งเรดบี ถือกำเนิดครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 ที่แล้วในประเทศญี่ปุ่น โดย Mr.Hisayasu Suzuki. บุคคลคนนี้ได้นำกุ้งบีธรรมดา (Bee Shrimp "Caridina serrata") มาผสมพันธุ์กันโดยใช้หลักการผสมพันธุ์แบบสายเลือดชิด (Inbreed) เราสามาถรถพบ Bee Shrimp ได้ตามลำธารทางตอนใต้ของประเทศจีน Bee Shrimp และกุ้งแคระในตระกูล "Caridina" เมื่อโตเต็มที่จะยาวเพียง 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะโดยทั่วไปของ Bee Shrimp ลำตัวจะสั้นป้อม มีตั้งแต่สีน้ำตาลเข้ม สีดำไปจนถึงสีดำเหลือบน้ำเงิน มีปล้องสีขาวจางๆ สลับใส ตรงปลายส่วนหัวบริเวณกรีกลางลำตัว และอาจมีบ้างบริเวณปลายหาง

Mr.Suzuki ได้ทดลอง Inbreed กุ้ง bee Shrimp หลายพันตัว เป็นเวลานานกว่า 6 ปี เสียเงินลงทุนไปกว่า 8,000,000 เยน (หรือกว่า 3,000,000 บาท) จนได้กุ้ง Bee ที่มีลักษณะลำตัวเป็นสีแดงสลับกับปล้องใส จึงเป็นที่มาของชื่อ Crystal Red Shrimp (CRS) จากนั้นต่อมาจึงมีการน้ำเจ้า CRS มาพัฒนาสายพันธุ์ต่อให้มีสีขาวที่ชัดเจนขึ้น และมีแถบสีขาวที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ เราเรียกกุ้งที่พัฒนาจาก CRS ว่า RedBee ราคาของเจ้าเรดบีขึ้นอยู่กับการแยกเกรด เราสามารถแบ่งเกรดของกุ้งได้จากความแดงของปล้องสีแดง ความหนาแน่นของเม็ดสีขาว และแถบสีขาวที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่เกรดต่ำที่สุด คือ เกรด D (เกรดนี้คือเจ้า CRS ที่กล่าวในข้างต้นนั่นเอง) ต่อมาก็เป็นเกรด C, B, A และ S นับจากเกรด S นี้ สีแดงของกุ้งจะชัดเจน แถบสีขาวมีมากขึ้นและจะเริ่มพัฒนาต่อไปอย่างเห็นได้ชัดจากเกรดนี้ ต่อจากนั้นยังสามารถแยกกุ้งเกรด S ออกเป็น Level ต่างๆ ได้อีก 5 Level โดยเริ่มนับจาก Level 1 ไปจนถึง Level 5 (ในประเทศญี่ปุ่นจะแบ่งเกรดเป็น Normal Grade, S Grade และสูงสุด SS Grade ตัวไหนมีจุดเด่นยังไงราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามนั้น และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมจึงขอใช้อีกวิธีที่กล่าวไปแบ่งเกรดกุ้งให้ละเอียดและเห็นภาพได้ชัดขึ้นนะคะ) และในอนาคตอันใกล้ยังจะมีการพัฒนา Level ขึ้นไปเรื่อยๆ ราคาของ เรดบี เริ่มตั้งแต่ 100 กว่าบาทไปจนถึงหลักแสน เช่น Level 5 ที่ราคาสูงสุดในขณะนี้คือ 300,000 เยน (กว่า 100,000 บาท) หลายคนที่อ่านมาถึงตอนนี้คงสงสัยว่า 300,000 เยนนี้ สามารถซื้อกุ้ง Level 5 ได้กี่ตัว คำตอบคือ "ตัวเดียว" ค่ะ....