วันที่ 13 มี.ค. นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิตย์ นักดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่หัวค่ำวันที่ 13 -15 มีนาคม 2555 ทาขอบฟ้าทิศตะวันตก จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงคู่ดาวพฤหัสบดีในระยะห่างกันประมาณ 3 องศา และในวันที่ 26 มีนาคม จะมีปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือน โดยดวงจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ โคจรอยู่ระหว่างกลางดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์จะอยู่ด้านบน ของดวงจันทร์ ห่างดวงจันทร์ประมาณ 3 องศา 34 ลิปดา ดาวพฤหัสบดีอยู่ด้านล่าง ห่างดวงจันทร์ประมาณ 5 องศา 25 ลิปดา ปรากฏการณ์ เหมือนพระจันทร์ยิ้มแต่มีตาเดียว คือตาข้างขวา ส่วนดาวพฤหัสบดี ไม่ได้เป็นตาซ้าย กลับมาอยู่ด้านล่างดวงจันทร์กลายเป็นดาวล้อมเดือนแบบเรียงแถวไม่เป็นพระจันทร์ยิ้ม
"ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ทั้งสามดวงอยู่ในกลุ่มดาวเดียวกัน คือกลุ่มดาวแกะ (Aries) เป็นปรากฏการณ์ ที่สวยงามน่าติดตามถึงการโคจรของดวงดาวบนท้องฟ้าอีกปรากฏการณ์หนึ่ง" นายวรวิทย์ กล่าวว่า
สำหรับดาวศุกร์มีความสว่าง -4.35 ดาวพฤหัสบดีมีความสว่าง -2.07 ดวงจันทร์ขึ้น 4 ค่ำมีปรากฏการณ์ Earth Shine เห็นได้ชัดเจน วิธีสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ ให้มองไปทางทิศตะวันตกสามารถ เห็นได้ด้วยตาเปล่า ทันทีที่ฟ้าเริ่มมืด ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี เห็นได้ วันที่ 13-15 มีนาคมนี้
ขณะที่ปรากฏการณ์ ดาวล้อมเดือนเรียงแถวจะเห็นได้วันที่ 26 มีนาคม แต่ผู้สังเกตการณ์ ต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จะพอสังเกตได้นาน อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้ สำหรับตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของดาวพฤหัสบดี RA 2 h 39.861m DEC 14 องศา 37ลิปดา 7ฟิลิปดา ดาวศุกร์ RA 3 h 15.95m DEC 21 องศา 17ลิปดา 24ฟิลิปดา
ขอบคุณที่มาจาก:ข่าวสดออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น